ทิศนา แขมมณี ได้รวบรวมไว้ว่า Piaget (1972:1-12) กล่าวไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้นจากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) กล่าวว่า เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52 (http://dontong52.blogspot.com/ ) กล่าวว่า วีก็อทสกี้ เป็นนักจิตวิทยาชาวรัสเซียทฤษฎีเชาว์ปัญญาของวีก็อทสกี้เน้นความสำคัญของวัฒนธรรม สังคม ละการเรียนรู้ที่มีต่อพัฒนาการเชาว์ปัญญา
วีก็อทสกี้แบ่งระดับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 ขั้น คือ
1) เชาว์ปัญญาขั้นเบื้องต้น คือ เชาว์ปัญญามูลฐานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเรียนรู้
2) เชาว์ปัญญาขั้นสูง คือ เชาว์ปัญญาที่เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ที่ให้การอบรมเลี้ยงดู ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ โดยใช้ภาษา วีก็อทสกี้ได้แบ่งพัฒนาการทางภาษา เป็น 3 ขั้น คือ
- ภาษาที่ใช้ในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เรียกว่า ภาษาสังคม
- ภาษาที่พูดกับตนเอง (3-7 ขวบ)
- ภาษาที่พูดในใจเฉพาะตน 7 ขวบขึ้นไป
สรุปได้ว่าการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เป็นกระบวนการในการ Acting on ไม่ใช่ Taking in
สรุป
เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
เอกสารอ้างอิง
ทิศนา แขมมณี.2550. การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการ
เรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การศึกษาการเรียนการสอนโดย ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.ทฤษฎีการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2554.
บริหารการศึกษา กลุ่มดอนทอง52.จิตวิทยาการศึกษา.สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2554.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น